วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

๑.ความเป็นมาของ “จินดามณี”


ความเป็นมาของ “จินดามณี”
คำว่า   “จินดามณี”
                ตามที่พบทั้งในสมุดไทยและสมุดพิมพ์  มีการเขียนไว้หลากหลายรูปแบบ  เช่น     จินดามนี     จินดามณี     และจินดามุนีก็มี   เป็นอันว่าจะยึดเอาเป็นที่แน่นอนในตัวหนังสือที่ปรากฎว่าอย่างไหนเป็นทางถูกแน่นอนไม่ได้   และคำที่เป็นปัญหาก็มีเฉพาะคำพยางค์ท้าย คือ  มนี   มณี   หรือมุนี   ส่วนพยางค์ต้นคือ   “จินดา”  นั้น   เขียนเหมือนกันหมด
                ตามหลักการเขียนที่ถูกต้อง   ผู้จัดทำคิดว่าควรใช้คำว่า  “จินดามณี”   ซึ่งแปลว่า  แก้วสารพัตรนึก   โดยผู้คนในอดีตถืออว่าแก้วเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่ง  หากผู้ใดมีไว้ในครอบครองก็จะเป็นมงคลแก่ผู้นั้นฉันใด     ท่านผู้ประพันธ์คงหมายความฉันนั้น   คือหากผู้ใดได้ศึกษาเล่าเรียนแบบเรียน “จินดามณี” ก็จะรู้แตกฉานในอักษรศาสตร์ของไทย   ประดุจมีแก้วสารพัตรนึกไว้ครอบครอง
                มีโคลงบทหนึ่งท้ายแบบเรียนนั่นได้บอกความไว้ชัดเจนว่า
                                ลิขิตวิจิตรสร้อย                    ศุภอรรถ
                ด่งงมณีจินดารัตน์                               เลอศแล้ว
                อันมีศิริสวัสดิ์                                       โสภาคย์
                ใครรู้คือได้แก้ว                                     ค่าแท้ควรเมือง ฯ
จินดามณี (๒๕๕๑:๑๔๘)

๒.จุดประสงค์ในการประพันธ์แบบเรียน “จินดามณี”


จุดประสงค์ในการประพันธ์แบบเรียน  “จินดามณี”
                ประพันธ์เพื่อใช้เป็นแบบเรียนในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช   ดังนั้นจึงสามรถถือได้ว่า “จินดามณี”  เป็นแบบเรียนเล่มแรกของไทย   โดยมีการสอดแทรกคำสั่งสอนต่างๆ  ประกอบไว้
ดังเช่น
                                ลิขิตวิจิตรสร้อย                    ศุภอรรถ
                ด่งงมณีจินดารัตน์                               เลอศแล้ว
                อันมีศิริสวัสดิ์                                       โสภาคย์
                ใครรู้คือได้แก้ว                                     ค่าแท้ควรเมือง ฯ
จินดามณี (๒๕๕๑:๑๔๘)
                จากบทประพันธ์ข้างต้นซึ่งประพันธ์โดย  พระโหราธิบดี  ซึ่งผู้ประพันธ์มีจุดประสงค์ให้ผู้ที่ศึกษาตำราเรียนเล่มนี้   ได้รับความรู้เปรียบเสมือนได้แก้วสารพัตรนึกไว้ในครอบครอง   

๓.ผู้ประพันธ์


ผู้ประพันธ์
แบบเรียนจินดามณี    แต่งครั่งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชประพันธ์โดย           พระโหราธิบดี   นักกวีชาวพิจิตร เดิมอยู่ในสุโขทัย ผู้เป็นบิดาของศรีปราชญ์ทั้งเป็นโหรที่ทำนายทายทักได้แม่นยำนัก รับราชการมาตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองจนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์       พระโหราธิบดี แต่งเมื่อ พ.ศ ๒๒๑๕   
            ตำนานศรีปราชญ์ที่พระยาปริยัติธรรมธาดา  กล่าวว่า  พระโหราธิบดีเป็นบิดาของศรีปราชญ์
สันนิษฐานว่าอาจถึงแก่กรรมก่อน พ.ศ . ๒๒๒๓ ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชรับสั่งให้รวบรวมชำระกฎหมายเหตุซึ่งท่านแต่งไว้เข้ากับฉบับอื่นๆ

๔.ลักษณะการประพันธ์


ลักษณะการประพันธ์
แต่งเป็นร้อยแก้ว มีตัวอย่างเป็นคำประพันธ์ชนิดต่างๆ เช่น ร่าย   โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ประกอบเนื้อหา

๕.คุณค่าในด้านต่าง ๆ


คุณค่าในด้านต่าง ๆ
๑ .คุณค่าด้านสังคม
                ๑. จินดามณีเป็นแบบเรียนเล่มแรก     และเป็นแบบอย่างให้นักปราชญ์สมัยต่อมาเขียนแบบเรียนภาษาไทยขึ้น
                ๒. สมเด็จพระนารายณ์จึงโปรดฯ    ให้มีการแต่งหนังสือภาษาไทยขึ้นเพื่อสั่งสอนให้เด็กไทยรักชาติและศาสนาของตนเอง            
๓.แต่งเพื่อเป็นแบบเรียนสำหรับให้เหล่ากุลบุตรกุลธิดาสนใจเล่าเรียนภาษาไทย       โดยจะสั่งสอนสอดแทรกไว้ในหนังสือ   ให้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการศึกษา (ตามที่ยกตัวอย่างไว้ข้างต้น  ในหัวข้อจุดประสงค์ของการประพันธ์)
        ๔.ได้ทราบว่าในสมัยอยุธยาได้มีการติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตก    โดยเฉพาะประเทศฝรั่งเศส    ซึ่งมีบันทึกไว้ในจดหมายเหตุเกี่ยวกับชาติตะวันตกที่มีการเปิดโรงเรียนสอนศาสนาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
        ๕.มีการนำคริสต์ศาสนามาเผยแผ่    โดยเริ่มจากการจัดตั้งสำนักสอนพระคริสตธรรมและค่อยพัฒนามาเป็นโรงเรียน   คือ เริ่มสอนพระคริสตธรรมแก่เยาวชน    ควบคุ่กับการสอนภาษาต่างประเทศ
        ๖.ประชาชนมีอิสระในการประกอบอาชีพ   และนับถือศาสนา
                   
๒. คุณค่าด้านเนื้อหาสาระ
                  ๑. จินดามณีเป็นแบบเรียนเล่มแรกไทย     ประพันธ์โดยพระโหราธิบดี       เป็นแบบเรียนที่มีคุณค่ามาก      โดยเนื้อหาสามารถแบ่งได้เป็นสองเรื่องใหญ่ ๆ   ได้แก่อักษรศาสตร์และวรรณคดีหากผู้ใดได้ศึกษาแบบเรียนเล่มนี้ก็จะได้รับความเข้าใจ     และความรู้ที่แตกฉานด้านภาษาไทยในระดับหนึ่ง
                ๒. เป็นหนังสือที่ใช้สำหรับอ้างอิงที่ดีที่สุด      และใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์การใช้ภาษาไทยโบราณกับยุคปัจจุบัน
                ๒.๑  ด้านอักษรศาสตร์
                ๒.๑.๑ได้ทราบว่าลักษณะรูปของคำในอดีตแตกต่างกันกับปัจจุบัน   แต่ความหมายยังคงเดิม       ดังตัวอย่างต่อไปนี้
รูปคำที่ปรากฏในหนังสือจินดามณี
รูปคำที่ใช้ในปัจจุบัน
เดอน
เดิน
ษัตรี
สัตรี
หนุมาณ
หนุมาน

๖.ตัวอย่างเนื้อหา จินดามณี พระโหราธิบดี แต่ง ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช


ตัวอย่างเนื้อหา
จินดามณี
พระโหราธิบดี  แต่ง
ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

๑.เริ่มต้นกล่าวถึงพระรัตนตรัยและพระสรัสวดี 

                ร่าย        
ศรีสิทธิวิวิธบวร     กรประณต      ทศนัขประนม     บรมไตรโลกยโมลี               ศรีบรมไตรรัตน     ชคัตโลกาจารย     นบนมัสการ     พระสุรัศวดี     คำภีรญาณพันลึก     อธึกโชดิปัญญา     ข้อยข้าขอเขียนอาธิอักษรปราชแต่งไว้     ให้ชอบตามศัพท์ไว้เปนฉบับสืบสาย     ด้าวใดคลายขอโทษ    โปรดแปลงเอาอย่าเตียนข้อยข้าเขียนตามฉบับ        อาทิศัพท์อักษร     ด่งงนี้
จินดามณี (๒๕๕๑:๑๑)

เป็นบทสรรเสริญพระรัตนตรัย    และมีการกล่าวสรรเสริญพระสุรัศสวดี     เทพของศาสนาพราหมณ์ฮินดู   ซึ่งเป็นชายาของพระพรหมและเป็นเทพีแห่งสติปัญญา


๒. กล่าวถึงอักษรศัพท์ ต่างๆที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต และคำที่มีเสียงคล้ายๆกัน ทำนองเป็นปทานุกรม 

                พระบาท                บาตรพระสงฆ์     บาศเชือกคล้อง     เงินบาท     บาดอาวุธ     อุบาทวะ      วิบัดดิ     นิยายนิบาต     สินระบาท     พระโพธิสัตว     มหากรษัตราธิราช     กรษัตรียชาติ           ชาติสรรพสัตว     สัดตนิกร   สัตยสัจจาจรรจา     ศรัทธาทำบุญ     จตุบรรสัษย     แลพรัศไคลคลา ฯ
จินดามณี (๒๕๕๑:๑๑)

๗.สรุปเนื้อหาพอสังเขป


สรุปเนื้อหาพอเป็นสังเขป

ด้านอักษรศาสตร์
๑.      เริ่มต้นกล่าวถึงพระรัตนตรัยและพระสรัสวดี 
๒.    อักษรศัพท์  ทำนองเป็นปทานุกรม 
๓.     คำนมัสการ
๔.     คำที่ใช้ ศ ษ ส   
๕.     คำที่ใช้ไม้ม้วน   ไม้มลาย 
๖.       ฤ ฤา ฦ ฦา
๗.     อักษรสามหมู่  การแจกลูก  และวิธีการผันอักษร
๘.      การกำเนิดตัวอักษร ลักษณะตัวสะกดวรรณยุกต์       และเครื่องหมายต่างๆ

ด้านวรรณคดี
๙.      คำนมัสการ           
๑๐.  อธิบายการแต่งคำประพันธ์พร้อมด้วยตัวอย่าง
๑๑. ปิดท้ายด้วยบอกชื่อและประวัติผู้แต่ง