ตัวอย่างเนื้อหา
จินดามณี
พระโหราธิบดี แต่ง
ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
๑.เริ่มต้นกล่าวถึงพระรัตนตรัยและพระสรัสวดี
ร่าย
ศรีสิทธิวิวิธบวร กรประณต ทศนัขประนม บรมไตรโลกยโมลี ศรีบรมไตรรัตน ชคัตโลกาจารย นบนมัสการ พระสุรัศวดี คำภีรญาณพันลึก อธึกโชดิปัญญา ข้อยข้าขอเขียนอาธิอักษรปราชแต่งไว้ ให้ชอบตามศัพท์ไว้เปนฉบับสืบสาย ด้าวใดคลายขอโทษ โปรดแปลงเอาอย่าเตียนข้อยข้าเขียนตามฉบับ อาทิศัพท์อักษร ด่งงนี้
จินดามณี (๒๕๕๑:๑๑)
เป็นบทสรรเสริญพระรัตนตรัย
และมีการกล่าวสรรเสริญพระสุรัศสวดี
เทพของศาสนาพราหมณ์ฮินดู
ซึ่งเป็นชายาของพระพรหมและเป็นเทพีแห่งสติปัญญา
๒. กล่าวถึงอักษรศัพท์ ต่างๆที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต และคำที่มีเสียงคล้ายๆกัน ทำนองเป็นปทานุกรม
พระบาท บาตรพระสงฆ์ บาศเชือกคล้อง เงินบาท
บาดอาวุธ อุบาทวะ วิบัดดิ
นิยายนิบาต สินระบาท พระโพธิสัตว มหากรษัตราธิราช กรษัตรียชาติ ชาติสรรพสัตว สัดตนิกร
สัตยสัจจาจรรจา
ศรัทธาทำบุญ จตุบรรสัษย แลพรัศไคลคลา ฯ
มีลักษณะคล้ายปทามานุกรม
ใช้รวบรวมคำศัพท์ต่าง ๆ
ที่ใช้ในการแต่งคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง
ส่วนใหญ่จะเป็นคำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤษเสียส่วนใหญ่ มีทั้งคำพ้องเสียง เช่น
พระบาท บาตรพระสงฆ บาศเชือกคล้อง เงินบาท
บาดอาวุธ ฯลฯ รวมถึงมี คำไวพจน์
(คำที่มีความหมายเหมือนกันแต่เขียนต่างกัน)
เช่น
ภูบาล ภูเบศ
ภูเบนทร ภูวนา ภูวไนย
ภูวนารรถ ภูวเนตร ภูวนัดไตรย
ภูมีศวร ภูบดี ภูบดินทร
ภูธร ภูตลา ธรารักษ
ธเรศตรี นรินทร นเรนทร
นเรศ นราธิบดี นฤบดี
นฤบดินทร นฤบาล นฤเบนทร
นฤเบศ นฤปนารถ จอมจักรี
จอมราช จอมยศราชา จอมภพนารถ จอมโลกย
จอมกรษัตริ ปิ่นเกล้าธาตรี จุทำมณี
จุมพล ธรนศวร ราชา
ราชี ราไชย ราโช
ราชัส ราเชนทร ท่ารไทธรนี ท้าวธรนิศ
ไทธเรศตรี ไทธรนี ธรารักษ
กรษัตราธิราช
จินดามณี (๒๕๕๑:๑๕-๑๖)
จากคำศัพท์ข้างต้นถึงจะมีรูปในการเขียนที่แตกต่าง แต่ทุกคำก็มีความหมายเหมือนกันคือ พระเจ้าแผ่นดิน
๓.คำนมัสการ
คำนมัสการ
นโมนะมัสการปรนม อภิวาทวันทา
เมแห่งตูข้าปรพฤติปรา รพภโดยจำนงใจ
อัสถุจงมีแก่มนสา- ทรเจตนาใน
ตัสสพุทธัสสวรไตร ภพโลกยนาโถ
ธรงนามพระภควโต พุทธภาคยเดโช
พระองคคืออรหโต อันหักกำมสงสาร
สัมมาสัมพุทธธัสสพระสรร เพชโพธิโอฬาร
ตรัสไญยธรรมวรญา- ณ ประเสริฐเลอศไกร
นบธรรมพระมกุฎไตรย ปิฎกุดตมีใน
โลกุดตราวรวิไส ยวิเศศศุกษุม
ยอกรกาญจนกฤษดาญ ชวลิตกันภุม
พุทโธรสาธิกชุมนุม คณสงฆอรรษฎารย
เสร็จถวายศรีโรตมภิวัน ทิยข้านมัสการ
ไตรรัตนทิพวรญ- ณ มหามหาศจรรย
เดชานุภาพวรไตร รัตนโชดิพรายพรรณ
จงศุขสวัสดิชัยสวรร ยาธิบัดดิมากมี
ข้าขอปรกอบอักษรแถลง สรรพภาคยวาที
นานาวุตโตไทยวจี นามศับทเสรจการ
จินดามณี (๒๕๕๑:๑๖-๑๗)
หลักจากจบอักษรทรัพย์ก็ขึ้นต้นด้วย คำนมัสการ
ซึ่งมีใจความเกี่ยวกับการสรรเสริญพระรัตนตรัย
๔. ตัวอย่างคำที่ใช้ ศ ษ ส
ตัวอย่างคำที่ใช้ ส
ส
สรรเพชสัทธรรมแลสง- ฆ ปรเสริฐแก่นสาร
สบสูตรสดับนิแลสังหา- รแลแพสตยสัตยา
โกสุมภเกสรสมบัด ดิแลสวัดิโสภา
เสาสูรยสวรรคแลสุรา สุรสิทธิสมภาร
สมเดจสหัสนยเสมอ สีหปราชสงกรานต
สมฤทธิ์สมาธิสบสถาน สุวภาพสุนธร
สมบรรณสาครแลสิน ธุสมุทสมสมร
สารถีสมรรถแลสลอน แลตรัสสละสมาคม
เสรจเสดจแลสังขพัส ดุสิตเสวตรเสวอยรมย
ปราสาทสารทสัตวสม นักนิสาธุสงสาร
แสนสนุกนิสาวสนม แลสดุดิโสดมนัสการ
สอลอทังปวงก็บริหาร ปรเภทนานา
จินดามณี (๒๕๕๑:๑๘-๑๙)
ตัวอย่างคำที่ใช้ ศ
ศ
ไพศาขศิขรพิเศศ แลศับทศรัทธา
ศัตรูแลศุขศุทธอา ศรภขไศยรัศมี
อาศรมศิลแลศิวา ศรโศตรเศรษฐี
อากาศแลพิศมสุลี ยศศักดิ์ดิอัศวา
โศฬศภิเศกแลปีศาจ แลกุศลศาลา
ศึกศรีศรบงแลศริรา ทศศุภศฤงฆาร
ศาโรชโศกแลประเทศ ศศิธรปรกาศมาน
ศอคอนี้ปราชผู้ชำนาญ ก็ปรกอบในวาที
จินดามณี (๒๕๕๑:๑๙)
ตัวอย่างคำที่ใช้ ษ
บุษยแลกฤษณกฤษณกฤษ เขษมกรษัตรษัตรี
โอภาษจักษุมหิษี
รักษโทษภูษา
อักษรรากษษแลยัก ษแลเกษบุษบา
พฤกษาฤๅษีบุรุษมา นุษยภิกษุเหาะหรรษ์
ปักษีมหิษแลผู้ปราช ธ ก็ผูกเปนเชิงฉันท
สิบสี่นี้นามคือวะสัน ตะติลกโดยหมาย
สบศับทกล่าวนิยมไว้ บมิคลาสมิคลาคลาย
เพื่อให้มหาชนทั้งหลาย ผู้จอ่านจเขียนตาม
สอลอแลศอษอ ก็ประกาศทังสาม
พีเศศโดยนาม ปรเภทภาษา
(จินดามณี (๒๕๕๑:๑๙-๒๐)
๕.คำที่ใช้ไม้ม้วน ไม้มลาย
๑๑
หนึ่งโสดคือไม้ม้วน ไม้มลายอเนกา
ประกอบเปนฉันทา ผู้พิเศศอย่าหลงใหล
ใ
ใฝ่ใจแลให้ทาน ทังนอกในแลใหม่ใส
ใครใคร่แลยองใย อันใดใช้แลใหลหลง
ใส่กลสใพ้ใบ้ ทังใต้เหนือแลใหญ่ยง
ใกล้ใบแลใช่จง ญี่สิบม้วนคือวาจา
(ไม้ม้วน ๒๐ คำ)
จินดามณี (๒๕๕๑:๒๐)
ไ
ท้าวไทแลไพร่พล ทังพงไพรแลไร่นา
ยไยแลอัทยา ไศรยไมยเลอศไกร
ฉับไวแลปลดไปล่ แลลุกไล่แลแล่นไกล
ไยไพปรไลไป แลร้องไห้จไจ่จรึง
เจ้าไทธชมไชย แลอาไลยังไปถึง
หวั่นไหวฤไทพึง แลไหว้พระแลไคลคลา
หลั่งไหลแลไรเกษ แลไตรภพไตรตรา
ไต่ทางแลไถนา แลแอกไถอันไพบูลย
บันไดกรไดไพ เราะหไผ่มไม่มูล
แหล่งไหลสไอพูล สมบูรรณขไศยปราไศย
คลองไปแลไหลหลั่ง แลไถ่คนแลเรือดไร
ไก่ไข่แลน้ำไหล แลไซ้ปีกปรไพงาม
ไพรีอไภยภิต แลขวิดไขว่แลไอจาม
ไฟไหม้แลไต้ลาม แลไนหูกแลป่านไหม
ทำได้แลไว้คง แลตไค่แลเปนไฝ
ถุงไถ้แลออมไห อสงไขยไสยา
ไส้พุงแลตับไต แลเหงื่อไคอเนก
แก้ไขวไวอา ไศรยไค้คดีดี
ไคคามแลเรนไร วิไนยไฉนแลไม้ตรี
ไฉไลแลไพล่หนี แลไหลไพลแลแกว่งไกว
ไศลไข้แลไกษร แลสไบแลลูกไพ
ผักไห่แลไม้ไซร แลไอสูรยแหล่หลาย
(ไม้มลาย ๘๐ คำ)
จินดามณี (๒๕๕๑:๒๐-๒๑)
๖. ฤ ฤา ฦ ฦา
อนึ่งจึ่งให้ใช้ ฤฤๅใส่โดยดำกล
ฦ ฦาก็อำพล โวหารชอบสถารการ
บุทคลผู้ใดจเขียนหนังสือกาพยโคลงพากยฉันท ให้ดูอักษร ๔
คือ ฤ ฤา ฦ ฦา นี้ให้ชอบกับกลอนควรจึ่งใส่ มิชอบกลอนอย่าใส่ ไม่รู้อ่านก็มิฟัดเลย รู้อ่านก็ฟัดกันแลผู้เขียนรู้ให้เขียนดังนี้ ชอบฤทธิให้ใส่ฤทธิ ชอบริทธิ ให้ใส่ริทธิ ชอบพฤนทร
ให้ใส่พฤนทร ชอบพรินทร ให้ใส่พรินทร ชอบ
รึ ตัวนี้ ให้ใส่ตัวนี้ ชอบ
ฤ ตัวนี้ ให้ใส่ตัวนี้ ชอบ
รื ตัวนี้ ให้ใส่ตัวนี้ ชอบฤๅ
ตัวนี้ ให้ใส่ตัวนี้ ชอบ
ลึ ตัวนี้ ให้ใส่ตัวนี้ ชอบ
ฦ ตัวนี้ ให้ใส่ตัวนี้ ชอบลือ
ตัวนี้ ให้ใส่ตัวนี้ ชอบ
ฦา ตัวนี้ ให้ใส่ตัวนี้ ตามอักษร
จึ่งจฟัดกันเปนกลอนแล
ถึงข้าศึกชอบกลอนแล
จินดามณี (๒๕๕๑:๒๐-๒๑)
๗.อักษรสามหมู่ และวิธีการผันอักษร
จำแนกอักษรเป็น ๓ หมู่
นโม
พุทฺธาย สิทธํ อ
อา อิ อี
อึ อื อุ
อู ฤ ฤา
ฦ ฦา เอ
แอ ไอ ใอ
โอ เอา อำ
อะ
ข
|
ฃ
|
ฉ
|
ฐ
|
ถ
|
|||||||||||||||
ก
|
จ
|
ฎ
|
ฏ
|
ด
|
ต
|
||||||||||||||
ค
|
ฅ
|
ฆ
|
ง
|
ช
|
ซ
|
ฌ
|
ญ
|
ฑ
|
ฒ
|
ณ
|
ท
|
ธ
|
น
|
||||||
ผ
|
ฝ
|
ส
|
ศ
|
ษ
|
ห
|
||||||||||||||
บ
|
ป
|
อ
|
|||||||||||||||||
พ
|
ฟ
|
ภ
|
ม
|
ย
|
ร
|
ล
|
ว
|
ฬ
|
ฮ
|
อักษร ๔๔
ตัวนี้ให้อ่านแต่สองเสียง
อักษร ๑๑
ตัวอยู่บนบรรทัดนั่นคือ ข ฃ ฉ ฐ
ถ ผ ฝ
ส ศ ษ
ห ให้อ่านออกเสียงสูงเสมอกันไป
อักษร ๓๓
ตัวอันเหลือนั้น
ให้อ่านออกเสียงกลางเสมอกันไปดุจ
ค ง จ ญ
จินดามณี (๒๕๕๑:๒๒-๒๓)
แจกลูก
อักษรกลาง ๙ ตัว
คือ ก จ
ฎ ฏ ด
ต บ ป
อ นี้ตัวเบามิก้อง เมื่อแจกให้อ่านเบาสูงขึ้นที่ ๔
คือ กิกึกุกะ ติตึตุตะ
อิอึอุอะ นั้น
กิ
|
กึ
|
กุ
|
กะ
|
||||||||||||
ก
|
กา
|
กี
|
กื
|
กู
|
เก
|
แก
|
ไก
|
ใก
|
โก
|
เกา
|
กำ
|
อักษรเสียงสูง ๑๑ ตัวนั้น
บ มีก้อง ให้อ่านหนักลงที่ ๔
ตัวนั้น คือ ขิขึขุขะ นั้น
ข
|
ขา
|
ขี
|
ขื
|
ขู
|
เข
|
แข
|
ไข
|
ใข
|
โข
|
เขา
|
ขำ
|
||||
ขิ
|
ขึ
|
ขุ
|
ขะ
|
อักษรเสียงกลาง ๒๔ ตัว
อันเหลือจาก ๙ ตัวนั้น
ตัวก้องต่ำให้อ่านทุ้มลงที่ ๔ ตัว
คือ คิ คึ
คุ คะ
ค
|
คา
|
คี
|
คื
|
คู
|
เค
|
แค
|
ไค
|
ใค
|
โค
|
เคา
|
คำ
|
||||
คิ
|
คึ
|
คุ
|
คะ
|
จินดามณี (๒๕๕๑:๒๓)
ผันอักษร
อักษรเหล่านี้เล่าเหมือนกันกับ
ค ง ช
ซ นั้นจงหมั้น อักษรทั้งหลายนั้นให้อ่านผันออกไปตัวละ ๓
คำ
ซึ่งแจกมาทั้งปวงนั้นมาเป็นคำต้นสะกดไม้ค้อนหางหัว แม่นั้นเป็นคำกลาง สะกดไม้โทลงด่งงรูป รูป ฃอ นั้นเป็นคำปลาย
อักษรเสียงสูง ๑๑ แม่นั้น
คำต้นให้อ่านสูงแล้วลดลงไปตามที่ไม้เอกไม้โทนั้น
ขา
|
ฉา
|
ผา
|
สา
|
หา
|
||||||
ข่า
|
ฉ่า
|
ผ่า
|
ส่า
|
ห่า
|
||||||
ข้า
|
ฉ้า
|
ผ้า
|
ส้า
|
ห้า
|
อักษรกลาง ๙
แม่นั้น คือ ก จ ฎ
ฏ ด ต
บ ป อ
นี้คำต้นให้อ่านเป็นคำกลาง แล้วจึ่งอ่านขึ้นไปตามไม้เอก แล้วลงไปตามไม้โทด่งงรูปจั่วนั้น
ก่า
|
จ่า
|
ด่า
|
ต่า
|
บ่า
|
||||||||||
กา
|
ก้า
|
จา
|
จ้า
|
ดา
|
ด้า
|
ตา
|
ต้า
|
บา
|
บ้า
|
อักษรเสียงกลางก้องต่ำ ๒๔
ตัวนั้น
คำต้นให้อ่านเป็นกลาง
แล้วอ่านทุ้มลงแล้วอ่านสูงขึ้นไปตามไม้เอกไม้โท
ค้า
|
ง้า
|
ซ้า
|
ท้า
|
น้า
|
|||||
คา
|
งา
|
ซา
|
ทา
|
นา
|
|||||
ค่า
|
ง่า
|
ซ่า
|
ท่า
|
น่า
|
|||||
พ้า
|
ฟ้า
|
ม้า
|
ย้า
|
ร้า
|
|||||
พา
|
ฟา
|
มา
|
ยา
|
รา
|
|||||
พ่า
|
ฟ่า
|
ม่า
|
ย่า
|
ร่า
|
|||||
ล้า
|
ว้า
|
ฮ้า
|
|||||||
ลา
|
วา
|
ฮา
|
|||||||
ล่า
|
ว่า
|
ฮ่า
|
จินดามณี (๒๕๕๑:๒๔-๒๕)
๘.การกำเนิดตัวอักษร ลักษณะตัวสะกดวรรณยุกต์ และเครื่องหมายต่างๆ
ส ศ ษ
ญ ย ใครถวิล
อ่ อ้ อ๊
อ๋ พินทุ์ ชอบรู้
ใ ไ ใส่โดนจิน- ดาแม่น
คือว่าท่ารนั้นผู้ ฉลาดแท้เมธาฯ
เปนเสมียนรอบรู้ วิสัญช์
พินเอกพินโททัณฑ- ฆาฎคู้
ฝนทองอีกฟองมัน นฤคหิต นั้นนา
แปดสิ่งนี้ใครรู้ จึ่งให้เปนเสมียร ฯ
นนพกอก่อเหง้า อักษร
แจกจำอุธาหอร แห่งหั้น
กดกบกกม้วยมรณ สามแม่
กนกงกมเกอยนั้น ชีพได้นามตรีฯ
ส จ
ต ถ ท ใช้ ต่างกด
กน ญ ร
ล ฬด แต่งต้งง
พ ป ภ
ท่านสมมต ต่างกบ แลนา
ข ค ต่างกกจั้ง แจกให้เหนแสดงฯ
แจก ก กาท่านห้าม โดยหมาย
กิ กึ กุ
กะ ตาย แห่งหั้น
เกียะเกือะเกอะกัวะราย เรียงทั่ว ไปนา
เกะแกะโกะเกาะนั้น เหล่านี้คำตายฯ
กกกดกบเหล่านี้ คำตาย
ให้กุลบุตรทังหลาย พึ่งรู้
กนกงกมภิปราย สามเหล่า นี้นา
ควรใส่เอกโทผู้ ปราชไว้เปนเฉลิม ฯ
จินดามณี (๒๕๕๑:๓๒-๓๓)
๙.คำนมัสการ
อธิบายวิธีแต่ง
กาพย์ กลอน โคลง
ฉันท์
นมัสสิตวา นบพระศาสดา นบพระธรรมาน
นบสงฆ์ผู้เปน นาบุญแก่นสาร นบครอาจารย
ท่านผู้สั่งสอน
ฯ
จินดามณี(๒๕๕๑:๓๔)
๑๐.อธิบายการแต่งคำประพันธ์พร้อมด้วยตัวอย่าง
ผิวผู้จะทำสุภาพโคลง
ให้ดูดุจกระบวนดั่งนี้
สิบเก้าเสาวภาพแก้ว กรองสนธิ์
จันทรมณฑลกล สี่ถ้วน
พระสุริยเสด็จดล เจ็ดแห่ง
แสดงว่าครูโคลงล้วน เศษสร้อยมีสอง
ฯ
โคลงตัวอย่าง
เสียงฦาเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่
สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ
ฯ
โคลงอธิบาย
ให้ปลายบทเอกนั้น มาฟัด
ห้าที่บทสองวัจน์ ชอบพร้อง
บทสามดุจเดียวทัด ในที่ เบญจนา
ปลายแห่งบทสองต้อง ที่ห้า
บทหลัง
ที่พินทุ์โทนั้นอย่า พึงพินทุ์ เอกนา
บ ชอบอย่าควรถวิล ใส่ไว้
ที่พินทุ์เอกอย่าจิน ดาใส่ โทนา
แม้วบมีไม้ เอกไม้โทควร
ฯ
บทเอกใส่สร้อยได้ โดยมี
แม้วจใส่บทตรี ย่อมได้
จัตวานพวาที ในที่ นั้นนา
โทที่ถัดมาไซร้ เจ็ดถ้วนคำคง
ฯ
บทต้นทั้งสี่ไซ้ โดยใจ
แม้วจะพินทุ์ใดใด ย่อมได้
สี่ห้าที่ภายใน บทแรก
แม้นมาทจักมีไม้ เอกไม้โทควร
ฯ
จินดามณี (๒๕๕๑:๓๕-๓๗)
กาพย์ห่อโคลง (กาพห่อโคลง)
ช้างเผือกต้นพลายพัง อิกสมหวังเนียมกุญชร
ม้าต้นดั่งไกรสร สิงสีหราชอาจสงคราม
๑ ช้างต้นเผือกพรายพัง กาพย์ ๑
๑ ช้างธินั่งพังล้ำ
กิริณี โคลง
๑
๒ อิกสมวังเนียมกุญชร กาพย์ ๒
๒ อิกพลายปราบไพรี
ราชได้ โคลง ๒
๓ ม้าต้นดั่งไกรสร กาพย์ ๓
๓ ม้าที่นั่งดั่งศรี
สีหราช โคลง ๓
๔ สิงสีหราชอาจสงคราม กาพย์ ๔
๔ สึงสึกอึกอาจให้ ปราบด้วยชำนาญ โคลง ๔
จินดามณี (๒๕๕๑:๔๘-๔๙)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น