วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

๕.คุณค่าในด้านต่าง ๆ


คุณค่าในด้านต่าง ๆ
๑ .คุณค่าด้านสังคม
                ๑. จินดามณีเป็นแบบเรียนเล่มแรก     และเป็นแบบอย่างให้นักปราชญ์สมัยต่อมาเขียนแบบเรียนภาษาไทยขึ้น
                ๒. สมเด็จพระนารายณ์จึงโปรดฯ    ให้มีการแต่งหนังสือภาษาไทยขึ้นเพื่อสั่งสอนให้เด็กไทยรักชาติและศาสนาของตนเอง            
๓.แต่งเพื่อเป็นแบบเรียนสำหรับให้เหล่ากุลบุตรกุลธิดาสนใจเล่าเรียนภาษาไทย       โดยจะสั่งสอนสอดแทรกไว้ในหนังสือ   ให้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการศึกษา (ตามที่ยกตัวอย่างไว้ข้างต้น  ในหัวข้อจุดประสงค์ของการประพันธ์)
        ๔.ได้ทราบว่าในสมัยอยุธยาได้มีการติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตก    โดยเฉพาะประเทศฝรั่งเศส    ซึ่งมีบันทึกไว้ในจดหมายเหตุเกี่ยวกับชาติตะวันตกที่มีการเปิดโรงเรียนสอนศาสนาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
        ๕.มีการนำคริสต์ศาสนามาเผยแผ่    โดยเริ่มจากการจัดตั้งสำนักสอนพระคริสตธรรมและค่อยพัฒนามาเป็นโรงเรียน   คือ เริ่มสอนพระคริสตธรรมแก่เยาวชน    ควบคุ่กับการสอนภาษาต่างประเทศ
        ๖.ประชาชนมีอิสระในการประกอบอาชีพ   และนับถือศาสนา
                   
๒. คุณค่าด้านเนื้อหาสาระ
                  ๑. จินดามณีเป็นแบบเรียนเล่มแรกไทย     ประพันธ์โดยพระโหราธิบดี       เป็นแบบเรียนที่มีคุณค่ามาก      โดยเนื้อหาสามารถแบ่งได้เป็นสองเรื่องใหญ่ ๆ   ได้แก่อักษรศาสตร์และวรรณคดีหากผู้ใดได้ศึกษาแบบเรียนเล่มนี้ก็จะได้รับความเข้าใจ     และความรู้ที่แตกฉานด้านภาษาไทยในระดับหนึ่ง
                ๒. เป็นหนังสือที่ใช้สำหรับอ้างอิงที่ดีที่สุด      และใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์การใช้ภาษาไทยโบราณกับยุคปัจจุบัน
                ๒.๑  ด้านอักษรศาสตร์
                ๒.๑.๑ได้ทราบว่าลักษณะรูปของคำในอดีตแตกต่างกันกับปัจจุบัน   แต่ความหมายยังคงเดิม       ดังตัวอย่างต่อไปนี้
รูปคำที่ปรากฏในหนังสือจินดามณี
รูปคำที่ใช้ในปัจจุบัน
เดอน
เดิน
ษัตรี
สัตรี
หนุมาณ
หนุมาน

๒.๑.๒ได้ทราบว่าลักษณะรูปของคำในอดีตแตกับปัจจุบันมีการเขียนที่เหมือนกัน             ดังตัวอย่างต่อไปนี้
รูปคำที่ปรากฏในหนังสือจินดามณี
รูปคำที่ใช้ในปัจจุบัน
บุตร
บุตร
นครศรีธรรมราช
นครศรีธรรมราช
นาค
นาค
โคตร
โคตร
ญาติ
ญาติ

๒.๑.๓ได้ทราบว่าในสมัยที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงครองราชย์สมบัติ    และก่อนหน้ารัชกาลของพระองค์ยังไม่มีเครื่องหมายบางอย่างใช้
                ๑.รูปวรรณยุกต์ ตรี  และจัตวา   เพราะในสมัยนั้นมีเพียงแค่รูปวรรณยุกต์เอก (พินทุเอก/ไม้ค้อนหางหัว)  และรูปวรรณยุกต์โท (พินทุโท)  เพียงเท่านั้น
                ๒.ไม่มีรูปการันต์ใช้   เช่น พระโพธิสัตว   พระอินทร  แตรสังข
                ๒.๑.๔ได้ทราบว่าคำไทยที่ใช้ไม้ม้วน  มี  ๒๐  คำมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช   หรืออาจจะมีใช้กันก่อนหน้านั้น   จินดามณี (๒๕๕๑:๒๐)ได้มีการประพันธ์ไว้ว่า
                   ใฝ่ใจแลให้ทาน                                            ทังนอกในแลใหม่ใส
ใครใคร่แลยองใย                                                 อันใดใช้แลใหลหลง
                   ใส่กลสใพ้ใบ้                                                ทังใต้เหนือแลใหญ่ยง
ใกล้ใบแลใช่จง                                                                     ญี่สิบม้วนคือวาจา
(ไม้ม้วน  ๒๐  คำ)
๒.๑.๕ได้ทราบว่ามีการจำแนกออกเป็น  ๓   หมู่    ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช   หรืออาจะเป็นก่อนหน้านั้น      จินดามณี (๒๕๕๑:๒๒)ได้มีการประพันธ์ไว้ว่า
จำแนกอักษรเป็น  ๓  หมู่
                นโม  พุทฺธาย   สิทธํ    อ   อา   อิ   อี   อึ   อื   อุ   อู   ฤ   ฤา   ฦ   ฦา    เอ   แอ   ไอ   ใอ   โอ   เอา   อำ   อะ  













































































อักษร  ๔๔  ตัวนี้ให้อ่านแต่สองเสียง
อักษร  ๑๑  ตัวอยู่บนบรรทัดนั่นคือ  ข  ฃ  ฉ  ฐ  ถ  ผ  ฝ  ส  ศ  ษ  ห   ให้อ่านออกเสียงสูงเสมอกันไป
อักษร  ๓๓  ตัวอันเหลือนั้น  ให้อ่านออกเสียงกลางเสมอกันไปดุจ  ค  ง  จ  ญ
จากบทเรียนข้างต้นที่ได้มีการยกตัวอย่างการจำแนกอักษรออกเป็นสามหมู่   จะเห็นลักษณะการจัดวางการเขียนอักษรไว้ทั้งหมดหกบรรทัด  ซึ่งบรรทัดแรกคืออักษรสูง    บรรทัดที่สองคืออักษรกลาง   บรรทัดที่สามคืออักษรต่ำ   บรรทัดที่สี่คืออักษรสูง   บรรทัดที่ห้าคืออักษรกลาง   และบรรทัดที่หกคืออักษรต่ำตามลำดับ   ซึ่งถือได้ว่าเป็นเทคนิควิธีที่ผู้ประพันธ์ได้คิดค้น   ทำให้ผู้ที่ต้องการศึกษาง่ายยิ่งขึ้นต่อการทำความเข้าใจ















บรรทัดที่  ๑ อักษรสูง














บรรทัดที่  ๒อักษรกลาง






บรรทัดที่  ๓
อักษรต่ำ














บรรทัดที่  ๔
อักษรสูง

















บรรทัดที่  ๕
อักษรกลาง










บรรทัดที่  ๖
อักษรต่ำ

๒.๑.๖ได้ทราบว่ามีการแจกลูก   คือการนะอักษรมาประสมกับสระเพื่อให้เกิดพยางค์สำหรับใช้ในการออกเสียง  เช่น  ก  กา   กิ   กี   กึ   กุ   กู   เก   แก   ไก   ใก   โก   เกา   กำ   กะ    และผันอักษร   คือการผันเสียงวรรณยุกต์   เช่น   ขา   ข่า   ข้า
๒.๑.๗ได้ทราบว่ามีตัวสะกดใช้อย่างเช่นปัจจุบันคือ  กก  กด  กบ  (คำตาย)    กน  กม   กง  เกอย   เกอว   จินดามณี(๒๕๕๑:๓๒-๓๓) ได้ประพันธ์ไว้ว่า


นนพกอก่อเหง้า                  อักษร
แจกจำอุธาหอร                                                    แห่งหั้น
กดกบกกม้วยมรณ                                               สามแม่
กนกงกมเกอยนั้น                                                ชีพได้นามตรีฯ
                                                                ส  จ  ต  ถ  ท  ใช้                                ต่างกด
กน  ญ  ร  ล  ฬด                                                 แต่งต้งง
พ  ป  ภ  ท่านสมมต                                           ต่างกบ   แลนา
ข  ค  ต่างกกจั้ง                                                    แจกให้เหนแสดงฯ
                                                                กกกดกบเหล่านี้                   คำตาย   
ให้กุลบุตรทังหลาย                                              พึ่งรู้
กนกงกมภิปราย                                                   สามเหล่า    นี้นา
ควรใส่เอกโทผู้                                                     ปราชไว้เปนเฉลิม ฯ
               

๒.๒  ด้านวรรณคดี  
                มีการอธิบายวิธีในการแต่งคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองต่างๆ  อาทิ   โคลง   กาพย์  ฉันท์   กลอน   และได้มีการยกตัวอย่างจากบทประพันธ์ของวรรณคดีในอดีตมาเป็นตัวอย่างประกอบด้วย
อาทิเช่น
ตัวอย่างโคลงจาก  ลิลิตพระลอ
เสียงฦาเสียงเล่าอ้าง                            อันใด  พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร                                              ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล                                             ลืมตื่น  ฤๅพี่
สองพี่คิดเองอ้า                                                    อย่าได้ถามเผือ ฯ
จินดามณี(๒๕๕๑:๓๖)
ตัวอย่างจาก มหาชาติคำหลวง  กัณฑ์สักบรรพ
                ท้าวไทนฤเทศข้า                                  ขับหนี
ลูกราชสีพีกลัว                                                     ไพร่ฟ้า
พลเมืองบดูดี                                                        ดาลคียด
กระเหลียดลับลี้หน้า                                           อยู่สร้างแสวงบุญ
จินดามณี(๒๕๕๑:๔๔)
ตัวอย่างจาก คำพากย์เรื่องรามเกียรติ์  ตอนศึกอินทรชิต
                เดชะมันแกล้วกล้า                              ปลอมปลนฟ้าปราบดินดล
ออกมาหวังผจญ                                                  รณรงคพาธา
                จินดามณี(๒๕๕๑:๖๔)
                จากตัวอย่างบทประพันธ์ข้างต้นที่พระโหราธิบดีได้นำมาเป็นบทประพันธ์ตัวอย่าง   จึงแสดงให้เห็นว่าบทประพันธ์เหล่านั้นย่อมมีการประพันธ์ขึ้นก่อนที่แบบเรียนจินดามณีจะเกิดขึ้น   ด้วยเหตุนี้จึงจัดได้ว่าแบบเรียนจินดามณีเป็นหนังสืออ้างอิงที่มีความสำคัญเป็นอันมาก    ในการอ้างอิง
๓.เป็นแบบอย่างให้นักปราชญ์สมัยต่อมาเขียนแบบเรียนภาษาไทยขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นแบบเรียนประถม ก กา   และประถมมาลา    ซึ่งเป็นแบบเรียนที่มีการประพันธ์ขึ้นในสมัยรัตนโกสิทร์ตอนต้นนั้น   ก็ได้นำแบบเรียนจินดามณีมาเป็นแบบอย่างในการประพันธ์แบบเรียน          และใช้ในการเรียนมาจวบจนสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว    
เหตุที่มีการยกเลิกแบบเรียนจินดามณี   ประถม ก  กา    และประถมมาลา  เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (รัชการที่ ๕)  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระยาศรีสุนทรโวหาร  (น้อย  อาจารยางกูล)  ประพันธ์แบบเรียนหลวงขึ้น   เพื่อใช้ประกอบการเรียนในโรงเรียนหลวง    แต่เนื้อหาในแบบเรียนหลวง ก็ยังคงมีใจความคล้ายกับ  “จินดามณี”     แต่อาจะมีการปรับแต่ง   เพิ่มเติมเนื้อหาให้เป็นไปตามยุคสมัย

๓.คุณค่าด้านวรรณศิลป์
๑.มีการเล่นคำ
๑.๑ การเล่นซ้ำคำ   คือคำว่า “คิด” 
                                                คิดนักหอดหักแล้ว                              ในใจ
คิดควบถึงใครใด                                                  ร่วมรู้
คิดนักคิดหิวไป                                                    ในมะ   โนแฮ
คิดบมีเจ้าชู้                                                            บ่เว้นพระวันยาม ฯ
จินดามณี (๒๕๕๑:๓๘)
๑.๑ การเล่นคำโดยใช้การสลับที่  
                                                เนตร   คมสมลักษณ์เนื้อ                   นิล   เนตร
น้อง    จรวรวานเชฐ                                          เหนียว   น้อง
ส่อง   ศรห่อนถูกเภท                                         เรียม   ส่อง
มา   สบจบจวบห้อง                                            ต่อเท้าวัน   มา ฯ
จินดามณี (๒๕๕๑:๔๕)

                                                ลางวัน   ฟังข่าวร้าย                             วันลาง                  
ร้อนยิ่ง   ไฟฟอนฟาง                                         ยิ่งร้อน
ข่มสุด     โศกไป่วาง                                            สุดข่ม  ขื่นแฮ
กรรมกู   ฉันใดส้อน                                            ซัดให้กูกรรม ฯ
จินดามณี (๒๕๕๑:๔๔)

๒.การเล่นสัมผัส
                                        ฝนตกนกร้องร่ำ                                  ครวญคราง
                                ครางครวญถึงนวนนาง                                      โศกเศร้า               
เศร้าโศกร่ำแต่ปาง                                               ไปจาก
จากไปเรียมไฉนเจ้า                                            พี่เพี้ยงตรอมตาย   ฯ
จินดามณี (๒๕๕๑:๔๕)
               
สัมผัสอักษร
                                ร้อง   กับ   ร่ำ                                       ครวญ   กับ   คราง
                                คราง   กับ   ครวญ                              นวน   กับ   นาง
                                โศก  กับ   เศร้า                                    เศร้า   กับ   โศก
                                พี่    กับ     เพี้ยง

                                            เรียมแปลงบทบาทเบื้อง                     โวหาร
คือถือแถมสมภาร                                                ชูถ้อย
ฝูงหญิงย่อมสาธารณ์                                          ทำโทษ   นักแฮ
บ้างพร้องผัวเอื้อมข้อม                                       ลอบเหล้นหลายชาย   ฯ
จินดามณี (๒๕๕๑:๓๙)
สัมผัสสระ
                                คือ    กับ   ถือ                                    
                สัมผัสอักษร
                                บท   กับ   บาท   กับ   เบื้อง             ถือ    กับ   แถม
                                ทำ    กับ    โทษ                                  เหล้น   กับ   หลาน
                                        อักษรจัดถัดเนื้อง                                 โดยดับ
เปนสารสืนสี่ฉบับ                                               บอกไว้
เขบ็จขบวรควรคำนับ                                          อุปเทศ
นรชนสนใจได้                                                    ชื่อเชื้อเมธา   ฯ
จินดามณี (๒๕๕๑:๗๔)
                สัมผัสสระ
                                จัด    กับ   ถัด                                      ใจ  กับ   ได้
                สัมผัสอักษร
                                โดย   กับ   ดับ                                     สาร    กับ   สี่
                                เขบ็จ    กับ    ขบวร                            ขบวร   กับ   ควร
                                ชน    กับ    สน                                   ชื่อ      กับ    เชื้อ

๓ .มีการบรรยาย    พรรณนาให้เห็นภาพชัดเจน
                                        นางขับขานเสียงแจ้ว                          พึงใจ
ตามเพลงกลอนกลใน                                         ภาพพร้อง
มโหรีบรรเลงไฉน                                              ซอพาทย์
ทับกระจับปี่ก้อง                                                  เร่งเร้ารัญจวน   ฯ
จินดามณี (๒๕๕๑:๔๗)

                                        พี่หยิบกล้ำขึ้นว่า                                  จะกิน
ชลเนตรไหลลามริน                                           บ่อเอื้อน
คายสยบขาดใจหิน                                              หายสวาดิ  รักเอย
เรียมลำฤกน้องเยื้อน                                           ค่อยค้อยคืนมา   ฯ
จินดามณี (๒๕๕๑:๕๙)
                                        ฝนตกนกร้องร่ำ                                   ครวญคราง
                                ครางครวญถึงนวนนาง                                      โศกเศร้า               
เศร้าโศกร่ำแต่ปาง                                               ไปจาก
จากไปเรียมไฉนเจ้า                                            พี่เพี้ยงตรอมตาย   ฯ
จินดามณี (๒๕๕๑:๔๕)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น