ความเป็นมาของ “จินดามณี”
คำว่า “จินดามณี”
ตามที่พบทั้งในสมุดไทยและสมุดพิมพ์
มีการเขียนไว้หลากหลายรูปแบบ
เช่น จินดามนี จินดามณี และจินดามุนีก็มี
เป็นอันว่าจะยึดเอาเป็นที่แน่นอนในตัวหนังสือที่ปรากฎว่าอย่างไหนเป็นทางถูกแน่นอนไม่ได้ และคำที่เป็นปัญหาก็มีเฉพาะคำพยางค์ท้าย
คือ มนี
มณี หรือมุนี ส่วนพยางค์ต้นคือ “จินดา”
นั้น เขียนเหมือนกันหมด
ตามหลักการเขียนที่ถูกต้อง ผู้จัดทำคิดว่าควรใช้คำว่า “จินดามณี”
ซึ่งแปลว่า แก้วสารพัตรนึก โดยผู้คนในอดีตถืออว่าแก้วเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่ง
หากผู้ใดมีไว้ในครอบครองก็จะเป็นมงคลแก่ผู้นั้นฉันใด ท่านผู้ประพันธ์คงหมายความฉันนั้น คือหากผู้ใดได้ศึกษาเล่าเรียนแบบเรียน
“จินดามณี” ก็จะรู้แตกฉานในอักษรศาสตร์ของไทย
ประดุจมีแก้วสารพัตรนึกไว้ครอบครอง
มีโคลงบทหนึ่งท้ายแบบเรียนนั่นได้บอกความไว้ชัดเจนว่า
ลิขิตวิจิตรสร้อย ศุภอรรถ
ด่งงมณีจินดารัตน์ เลอศแล้ว
อันมีศิริสวัสดิ์ โสภาคย์
ใครรู้คือได้แก้ว ค่าแท้ควรเมือง
ฯ
จินดามณีฉบับพระนิพนธ์ของกรมหลวงวงษาธิราชสนิท พระองค์ก็ได้ใช้คำว่า “จินดามณี” ซึ่งแสดงว่าพระองค์ทรงตั้งพระทัยจะให้หนังสือนี้เปรียบดั่งแก้ว ดังโคลงพระนิพนธ์ว่า
จึ่งริรจเรขซร้อน สารศรี นี้ฤๅ
เสนอชื่อจินดามณี ดั่งแก้ว
จักรพรรดิทุกสิ่งมี ประสงค์เสร็จ นึกนา
เติมเล่มสองตรองแล้ว ถี่ถ้วนขบวรกล
ฯ
จินดามณี (๒๕๕๑:๑๕๐)
ดังนั้นผู้จัดจึงทำขอสรุปว่า
“จินดามณี”
ควรจะเป็นชื่อที่ใช้เรียกแบบเรียนของไทยเล่มแรก โดยอ้างจากความหมาย และคำที่ปรากฏอยู่ในโคลงทั้งสองบทข้างต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น