วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

๓.ผู้ประพันธ์


ผู้ประพันธ์
แบบเรียนจินดามณี    แต่งครั่งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชประพันธ์โดย           พระโหราธิบดี   นักกวีชาวพิจิตร เดิมอยู่ในสุโขทัย ผู้เป็นบิดาของศรีปราชญ์ทั้งเป็นโหรที่ทำนายทายทักได้แม่นยำนัก รับราชการมาตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองจนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์       พระโหราธิบดี แต่งเมื่อ พ.ศ ๒๒๑๕   
            ตำนานศรีปราชญ์ที่พระยาปริยัติธรรมธาดา  กล่าวว่า  พระโหราธิบดีเป็นบิดาของศรีปราชญ์
สันนิษฐานว่าอาจถึงแก่กรรมก่อน พ.ศ . ๒๒๒๓ ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชรับสั่งให้รวบรวมชำระกฎหมายเหตุซึ่งท่านแต่งไว้เข้ากับฉบับอื่นๆ
พระโหราธิบดี   สันนิษฐานว่าเห็นจะเป็นคนเดียวกับ  พระมหาราชครู   เพราะสมเด็จพระ-นารายณ์ทรงยกย่องเป็นครูบาอาจารย์   ซึ่งสามารถอ้างจากหนังสือ จินดามณี (๒๕๕๑:๑๖๘) ได้กล่าวว่า
   สมเด็จพระนารายณ์คงจะได้เคยเป็นศิษย์พระโหราธิบดี   มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์   ปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า เมื่อ พ.. ๒๑๘๔   สมเด็จพระเจ้าปราสาททองเสด็จประพาสพระที่นั่ง   ไอสวรรยทิพอาศน์ที่บางปะอินครั้นเพลาค่ำเสด็จออกมาประทับยืนที่หน้ามุข    สมเด็จพระนารายณ์เวลานั้นมีพระชนม์ได้ ๑o พรรษา    ทรงส่องโคมถวาย    อสนีลงหน้าบัน  แว่นประดับและรูปสัตว์ตกกระจายมารอบพระองค์ ส.มเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอจะได้เป็นอันตรายหามิได้ ทรงพระกรุณาให้พระโหราทำนาย ถวายพยากรณ์ว่าเป็นมหาศุภนิมิต   จะทรงพระกฤษฎาธิการยิ่งขึ้น     แล้วจะได้พระราชลาภต่างประเทศ”  เมื่อปรากฏว่าพระโหราธิบดี    เป็นที่ทรงเชื่อถือไว้วางพระราชหฤทัย   กอบทั้งทรงเกียรติคุณเช่นนี้    สมเด็กพระเจ้าปราสาททองคงจะได้ทรงมอบสมเด็จพระนารายณ์เมื่อเป็นพระราชกุมาร  ให้พระโหราธิบดีถวายพระอักษรและอบรม  จึงปรากฏว่า  ในรัชกาลของพระองค์  สมเด็จพระนารายณ์ทรงเป็นขัตติยกวีที่ทรงพระเกียรติพระองค์หนึ่ง            
               


เกียรติคุณของพระโหราธิบดี
พระโหราธิบดีผู้นี้   ปรากฏเกียรติคุณว่าเป็นผู้ทูลถวายคำทำนายแม่นยำ  สมเด็จพระเจ้า-ปราสาททองทรงเชื่อถือมาก    มีกล่าวไว้ในพระราชพงศาวดารว่า    พระโหราคนนี้แม่นยำนัก   ครั้งหนึ่ง (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปราสาททอง) เสด็จอยู่ในพระที่นั่งจักวรรดิไพชยนต์มหาปราสาท มุสิกตกลงมา  ทรงพระกรุณาเอาขันทองครอบไว้   ให้หาพระโหรามาทาย   พระโหราคำนวณแล้วทูลว่าสัตว์สี่เท้า   ทรงพระกรุณาตรัสว่ากี่ตัว   พระโหราคำนวณแล้วทูลว่าสี่ตัว   ทรงพระกรุณาตรัสว่าสัตว์สี่เท้านั้นถูกอยู่   แต่ที่สี่ตัวนั้นผิดแล้ว   ครั้นเปิดขันทองขึ้น   เห็นลูกมุสิกคลานอยู่สามตัวกับแม่ตัวหนึ่งเป็นสี่ตัว   ก็ทรงพระกรุณาตรัสสรรเสริญพระโหราธิบดีว่าดูแม่นกว่าตาเห็นอีก   ให้พระราชทานเงินตราชั่งหนึ่ง   เสื้อผ้าสองสำรับ   แต่นั้นมาก็เชื่อถือพระโหราธิบดีนัก”   ต่อมาใน พ.. ๒๑๘๖   พระโหราถวายฎีกาว่าใน  ๓  วันจะเกิดเพลิงในพระราชวัง    สมเด็จพระเจ้าปราสาททองได้ทรงได้ทรงฟังก็ตกพระทัยจึง    ให้ขนของเทพระราชวังออกไปอยู่วัดไชยวัฒนาราม   ทั้งเรือบัลลังก์   เรือศรี   เรือคลัง   คับคั่งแออัดกันอยู่  แลในพระราชวังนั้น   เกณฑ์ไพร่สามพันสรรพด้วยพร้าขอ   ตะกร้อน้ำรักษา   ห้ามมิให้หุงข้าวในพระราชวัง   แล้วเรือตำรวจคอยบอกเหตุทุกทุ่มโมง   ครั้นคำรบสามวัน   เพลาชายแล้วสี่นาฬิกาเรือตำรวจลงไปกราบทูลพระกรุณาว่าสงบอยู่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่าครั้งนี้เห็นพระโหราจะผิดอยู่แล้ว   สั่งเรือเถิด   จะเข้าพระราชวัง          เจ้าพนักงานก็เลื่อนเรือพระที่นั่งกิ่งเข้ารับเสด็จ   พระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาถึงฉนวนประจำท่า            พระโหราอยู่ท้ายเรือพระที่นั่ง    กราบทูลว่าขอให้ย่ำฆ้องก่อนจึงจะสิ้นพระเคราะห์   สมเด็จพระ-เจ้าอยู่หัวก็ให้ลอยเรือพระที่นั่งอยู่    เพลาชายแล้วห้านาฬิกา   เมฆพยับคลุ้มขึ้นข้างจิมทิศ   ฝนตกพรำๆ ลงมา   ทรงพระกรุณาตรัสแก่พระโหราว่าฝนตกลงสิ้นเหตุแล้วกระมัง   พระโหรากราบทูลว่าขอพระราชทานงดก่อน   พอสิ้นคำลง   อสนีเปรี้ยงลงมาต้องเหมพระมหาปราสาทเป็นเพลิงติดพลุ่งโพลงขึ้นไหม้ลามลงมา    คนทั้งหลายซึ่งอยู่ในพระราชวังมิรู้ที่จะทำประการใด   แลดีบุกอันคาดหลังคานั้นไหลราดลงมาดังห่าฝน   เพลิงก็ไหม้ตืดต่อไปทั้งห้วยคลังเรือนหน้าเรือนหลังร้อยสิบเรือนจึงดับได้”
สมเด็จพระนารายณ์คงจะได้เคยเป็นศิษย์พระโหราธิบดี   มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์   ปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า เมื่อ พ.. ๒๑๘๔   สมเด็จพระเจ้าปราสาททองเสด็จประพาสพระที่นั่ง   ไอสวรรยทิพอาศน์ที่บางปะอินครั้นเพลาค่ำเสด็จออกมาประทับยืนที่หน้ามุข    สมเด็จพระนารายณ์เวลานั้นมีพระชนม์ได้ ๑o พรรษา    ทรงส่องโคมถวาย    อสนีลงหน้าบัน  แว่นประดับและรูปสัตว์ตกกระจายมารอบพระองค์ ส.มเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอจะได้เป็นอันตรายหามิได้ ทรงพระกรุณาให้พระโหราทำนาย ถวายพยากรณ์ว่าเป็นมหาศุภนิมิต   จะทรงพระกฤษฎาธิการยิ่งขึ้น     แล้วจะได้พระราชลาภต่างประเทศ”  เมื่อปรากฏว่าพระโหราธิบดี    เป็นที่ทรงเชื่อถือไว้วางพระราชหฤทัย   กอบทั้งทรงเกียรติคุณเช่นนี้    สมเด็กพระเจ้าปราสาททองคงจะได้ทรงมอบสมเด็จพระนารายณ์เมื่อเป็นพระราชกุมาร  ให้พระโหราธิบดีถวายพระอักษรและอบรม  จึงปรากฏว่า  ในรัชกาลของพระองค์  สมเด็จพระนารายณ์ทรงเป็นขัตติยกวีที่ทรงพระเกียรติพระองค์หนึ่ง             ราชสำนักของพระองค์สนั่นเสนาะไปด้วยศัพท์สังคีตและแซ่ระงมไปด้วยสำเนียงแห่งกาพยนิพนธ์กลโคลงกลอนฉันท์การกวีเฉกเช่นศรีปราชญ์กล่าวไว้ในอนิรุทธคำฉันท์ว่า
จำเรียงสานเสียง  ประอรประเอียง  กรกรีดเพยียทอง
เต่งติงเพลงพิณ  ปี่แคนทรลอง  สำหรับลบอง  ลเบงเฉ่งฉันท์
                                ระงมดนตรี  คือเสียงกระวี  สำเนียงนิรันดร์ 
บรรสานเสียงถวาย  เยียผลัดเปลี่ยนกัน  แลพวกแลพรรค์  บรรสานเสียงดูริย์
จินดามณี (๒๕๕๑:๑๖๗-๑๖๙)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น